ไทใหญ่

ชื่อเรียกตนเอง : ไต, คนไต

ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ชาน, ฉาน, ไทใหญ่, เงี้ยว, ไทเหนือ-ไทมาว

ตระกูลภาษา : ไท

ภาษาพูด : ไต

บทความฉบับเต็ม : ดาวน์โหลด

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2566

919

ไต หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “ไทใหญ่” โดยความหมายของคำว่า “ไต” นั้น หมายถึงคน ขณะที่ชื่อเรียก “ไทใหญ่” นั้น เป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกคนไต หรือกลุ่มคนที่อยู่ในลุ่มน้ำสาละวิน ส่วนชื่อเรียก“เงี้ยว”เป็นคำที่คนยวนในล้านนาใช้เรียกพวกเขา แต่เป็นคำที่คนไทใหญ่ไม่ชอบเพราะส่อไปในทำนองดูถูก ในขณะที่ “ฉาน” นั้นเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวไต จวบจนยุคอาณานิคม ชาวอังกฤษก็เรียกชื่อนี้ตามอย่างพม่า ในขณะที่เจ้าของวัฒนธรรมเอง ประสงค์ให้คนทั่วไปเรียกตนเองว่า “ไต” มากกว่าชื่ออื่น ขณะเดียวกันชื่อเรียกนั้นมีการใช้สลับไปมา มีความลื่นไหลและพลวัตขึ้นอยู่กับมิติความสัมพันธ์

ไต หรือไทใหญ่ อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่เอเชียในตอนเหนือของเวียดนาม ตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของลาว ไทย พม่า และในแค้วนอัสสัม ด้านตะวันออกของอินเดีย ในประเทศไทยนั้นกระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือมายาวนานก่อนยุคการขีดแบ่งเส้นพรมแดน อาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ในอดีตมีบทบาทสำคัญในการค้าทางไกลด้วยวัวต่าง ม้าต่าง เดินทางเชื่อมโยงเส้นทางการค้าในตอนใต้ของจีน พม่า ตอนเหนือของไทย เข้าสู่ประเทศลาวฯ ชาวไทใหญ่บางส่วนตั้งชุมชนกระจัดกระจายไปในเส้นทางการค้า ในยุคพระเจ้ากาวิลละปกครองเชียงใหม่นั้นเรียกได้ว่าเป็นยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” เมื่อเกิดการสู้รบชนะ ได้รวบรวมผู้คนจากดินแดนต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนล้านนา ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ถูกอพยพมาจากชุมชนเดิมและให้กระจายไปอาศัยยังที่แห่งใหม่ เกิดเป็นชุมชนชาติพันธุ์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตเมืองเชียงใหม่และรอบนอก ในขณะที่กลุ่มชาวไตอีกกลุ่มเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยในช่วงความไม่สงบภายในประเทศพม่า ผนวกกับแรงดึงดูดด้านแรงงานในประเทศไทย ส่งผลให้ชาวไตจากหลายเมืองในรัฐฉานเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านทิศเหนือเพื่อเข้ามาหางานทำและกระจายออกมาสู่จังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะเมืองที่ต้องการแรงงานในกิจกรรม 3 D เช่น สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันคนทั้งสองกลุ่มยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทยในสถานะที่ต่างกัน กล่าวคือ คนไตดั้งเดิมติดแผ่นดินมีความเป็นอยู่ที่ยึดโยงกับชุมชนท้องถิ่นและความเป็นรัฐไทย ผสมกลมกลืนกับสังคมและวัฒนธรรมแบบไทย ขณะที่คนไตกลุ่มใหม่ที่เข้ามาเป็นแรงงานนั้นอยู่ในสถานะของแรงงานที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งที่มีสถานะถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย ในแง่มุมของวิถีวัฒนธรรมคนไตทั้งสองกลุ่มได้รับการยอมรับอย่างมาก เนื่องด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าสอดคล้องกับสังคมพุทธในประเทศไทย พื้นที่ทางศาสนา พื้นที่ของพิธีกรรม และศิลปกรรม จึงเป็นพื้นที่หลักที่คนไตใช้แสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตน เช่น การบวชลูกแก้ว หรือปอยส่างลอง การรำโต รำนกกิ่งกะหล่า อันเป็นศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาผ่านงานศิลปะทั้งสิ้นไต หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “ไทใหญ่” โดยความหมายของคำว่า“ไต” นั้น หมายถึงคน ขณะที่ชื่อเรียก “ไทใหญ่” นั้น เป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกคนไต หรือกลุ่มคนที่อยู่ในลุ่มน้ำสาละวิน ส่วนชื่อเรียก“เงี้ยว”เป็นคำที่คนยวนในล้านนาใช้เรียกพวกเขา แต่เป็นคำที่คนไทใหญ่ไม่ชอบเพราะส่อไปในทำนองดูถูก ในขณะที่ “ฉาน” นั้นเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวไต จวบจนยุคอาณานิคม ชาวอังกฤษก็เรียกชื่อนี้ตามอย่างพม่า ในขณะที่เจ้าของวัฒนธรรมเอง ประสงค์ให้คนทั่วไปเรียกตนเองว่า “ไต” มากกว่าชื่ออื่น ขณะเดียวกันชื่อเรียกนั้นมีการใช้สลับไปมา มีความลื่นไหลและพลวัตขึ้นอยู่กับมิติความสัมพันธ์

ไต หรือไทใหญ่ อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่เอเชียในตอนเหนือของเวียดนามตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของลาว ไทย พม่า และในแค้วนอัสสัม ด้านตะวันออกของอินเดียในประเทศไทยนั้นกระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือมายาวนานก่อนยุคการขีดแบ่งเส้นพรมแดน อาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ในอดีตมีบทบาทสำคัญในการค้าทางไกลด้วยวัวต่าง ม้าต่าง เดินทางเชื่อมโยงเส้นทางการค้าในตอนใต้ของจีน พม่า ตอนเหนือของไทย เข้าสู่ประเทศลาวฯชาวไทใหญ่บางส่วนตั้งชุมชนกระจัดกระจายไปในเส้นทางการค้า ในยุคพระเจ้ากาวิลละปกครองเชียงใหม่นั้นเรียกได้ว่าเป็นยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” เมื่อเกิดการสู้รบชนะ ได้รวบรวมผู้คนจากดินแดนต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนล้านนา ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ถูกอพยพมาจากชุมชนเดิมและให้กระจายไปอาศัยยังที่แห่งใหม่ เกิดเป็นชุมชนชาติพันธุ์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตเมืองเชียงใหม่และรอบนอกในขณะที่กลุ่มชาวไตอีกกลุ่มเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยในช่วงความไม่สงบภายในประเทศพม่า ผนวกกับแรงดึงดูดด้านแรงงานในประเทศไทย ส่งผลให้ชาวไตจากหลายเมืองในรัฐฉานเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านทิศเหนือเพื่อเข้ามาหางานทำและกระจายออกมาสู่จังหวัดอื่น ๆโดยเฉพาะเมืองที่ต้องการแรงงานในกิจกรรม3 D เช่น สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันคนทั้งสองกลุ่มยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทยในสถานะที่ต่างกัน กล่าวคือ คนไตดั้งเดิมติดแผ่นดินมีความเป็นอยู่ที่ยึดโยงกับชุมชนท้องถิ่นและความเป็นรัฐไทย ผสมกลมกลืนกับสังคมและวัฒนธรรมแบบไทย ขณะที่คนไตกลุ่มใหม่ที่เข้ามาเป็นแรงงานนั้นอยู่ในสถานะของแรงงานที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งที่มีสถานะถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย ในแง่มุมของวิถีวัฒนธรรมคนไตทั้งสองกลุ่มได้รับการยอมรับอย่างมาก เนื่องด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าสอดคล้องกับสังคมพุทธในประเทศไทย พื้นที่ทางศาสนา พื้นที่ของพิธีกรรม และศิลปกรรม จึงเป็นพื้นที่หลักที่คนไตใช้แสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตน เช่น การบวชลูกแก้ว หรือปอยส่างลอง การรำโต รำนกกิ่งกะหล่า อันเป็นศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาผ่านงานศิลปะทั้งสิ้น

ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์

ชื่อเรียกตนเอง : ไต, คนไต

ไต, คนไต เป็นคำที่คนไทใหญ่เรียกตัวเอง อย่างไรก็ตามที่มาของคำว่า “ไต” นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก นักโบราณคดีจำนวนหนึ่งกล่าวกันว่ามาจากภาษาจีนว่า ‘เทียน’ ที่แปลว่าฟ้า บ้างก็ว่ามาจากภาษาจีนคำว่า ‘ต้า’ ที่ออกเสียงในสำเนียงกวางตุ้งว่า ไต่ แปลว่า ใหญ่ หรือสำเนียงจีนกลางออกเสียงว่า ไต้ แปลว่าสวรรค์ (ลุงก็อด, 2538) ขณะที่ จิตร ภูมิศักดิ์วิเคราะห์ว่าคำว่า “ไต” หรือ “ไท” น่าจะเป็นภาษาไทยดั้งเดิม ไม่ใช่ภาษาจีนหรือภาษาอื่นใด หมายถึง “คน” เหมือนชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใช้เรียกตัวเอง มากกว่าจะแปลว่า “อิสระ” หรือเป็นไท (จิตร ภูมิศักดิ์, 2524: 546-550)

ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ชาน, ฉาน, ไทใหญ่, เงี้ยว, ไทเหนือ-ไทมาว

ชาน, ฉาน (Shan) เป็นคำที่ชาวพม่าใช้เรียกคนไทใหญ่ และภายหลังในยุคอาณานิคมชาวอังกฤษก็เรียกคนไทใหญ่ว่า ฉาน ตามคนพม่า จึงเป็นคำที่นานาชาติใช้เรียกคนไทใหญ่ ข้อสันนิษฐานของนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าคำว่า ฉาน หรือ ชาน เป็นคำที่มีรากเหง้าเดียวกันกับคำว่า เซียม สยาม ชาม และวิเคราะห์ว่ารากศัพท์จริง ๆ น่าจะกร่อนเสียงมาจากคำว่า ฉะยาม ที่เป็นการออกเสียงแบบสันสกฤต หากแต่ชาวพม่าออกเสียงสะกด ม สะกดเป็นแม่กนแทนคำว่า ชาม จึงกลายเป็น ชาน (จิตร ภูมิศักดิ์, 2524: 10-15)

ชาวพม่ามีธรรมเนียมในการแยกความแตกต่างของคนไตหรือไทใหญ่ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ฉานเบอร์มา (Burmese Shans), ฉาน ตาโยก (Chinese Shans/Shan Tayok) และ ฉานคำตี่ (Hkamti Shans) ฉานเบอร์มาหมายถึง ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานปัจจุบัน ฉานตาโยก หมายถึงชาวไทใหญ่ในมณฑลยูนาน ประเทศจีน ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองหลักของชาวไทใหญ่เช่นกัน ส่วนฉานคำตี่ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นกลุ่มย่อยของเบอร์มาฉาน (Leach 1984:32-34 อ้างใน Jaggapan Cadchumsang, 2011:138) ไม่ใช่แค่พม่าเท่านั้นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในพม่าก็เรียกชื่อชาวไทใหญ่ด้วยรากศัพท์ที่มาจากคำเดียวกัน ชาวคะฉิ่นเรียกว่า อะชาม ชาวอาชาง ปะหล่อง และชาวว้า เรียกว่า เซียม

ไทใหญ่ เป็นคำที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกคนไทใหญ่ คนไทยเริ่มใช้คำว่า “ไทใหญ่” เมื่อไหร่ และคำ นี้หมายถึงกลุ่มชนใดกันแน่ยังเป็นที่ถกเถียงกันวงวิชาการ นักวิชาการไทยบางคนตั้งข้อสังเกตว่า “ไทใหญ่” คือพวกที่อยู่ทางลุ่มน้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำมาว (แม่น้ำสาขาของอิรวดี) และ “ไทน้อย” หมายถึง กลุ่มคนไท ในลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออกเลยเข้าไปในลาวและเวียดนาม เป็นกลุ่มคนที่ภายหลังอพยพมาเป็นชาวล้านนา ล้านช้างและสุโขทัย และนำไปสู่ความสัมพันธ์ของการเป็น ไทใหญ่และไทน้อย จากหลักฐานการเรียกคำว่าไทใหญ่ ไทน้อย (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และสุจิตต์ วงษ์เทศ, 2534 อ้างใน นิติ ภวัครพันธุ์, 2558: 23)

มีหลักฐานว่าคนไทยสยาม สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างพวกตนกับพวกไทใหญ่ได้ดี คือบันทึกของลาลูแบร์ (Simon de La Loubere, 1986: 7) นักการทูตชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเยือน
กรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. 1687-1688 ได้ระบุว่า

“อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตัวเองว่าไทน้อย (Tai Noe) คือสยามน้อย (Little Siam) ตามที่ข้าพเจ้าได้รับคำบอกเล่า ยังมีคนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งป่าเถื่อนที่สุดเรียกกันว่าไทใหญ่ (Tai Yai) คือสยามใหญ่ (Great Siam) อันเป็นพวกที่อยู่ทางเขตเขาภาคเหนือ” (Simon de La Loubere 1986: 7 อ้างใน นิติ ภวัคพันธุ์, 2558: 24)

นอกจากนั้น “ไทใหญ่” ยังเป็นชื่อที่คนในพระนครศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2000 ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ลาว บริเวณลุ่มสาละวินตอนเหนือในพม่า ต่อเนื่องถึงลุ่มน้ำพรหมบุตร ในรัฐอัสสัมของอินเดียเหตุที่ได้นามว่า
ไทใหญ่เพราะเป็นดินแดนและผู้คนที่รับศาสนาจากชมพูทวีปแล้วเติบโตเป็นบ้านเมืองก่อนคนไทกลุ่มอื่น ที่เพิ่งรับศาสนาในภายหลัง ส่วนคำว่าไทน้อย เป็นชื่อที่คนในพระนครศรีอยุธยา ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ลาวบริเวณสองฝั่งแม่โขง ทั้งฝั่งขวาคือไทยในปัจจุบันและฝั่งซ้ายคือลาวในปัจจุบันยาวไปจนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท-ลาวลุ่มน้ำดำ-แดง ในเวียดนาม และมณฑลกวางสี กวางตุ้ง ในจีน (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2557:11)

อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่า คำว่า “ไทใหญ่” นั้น มีเพียงคนไทยสยามเท่านั้นที่ใช้เรียกชาวไทใหญ่ เพราะไม่ปรากฏว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์หรือประเทศใดเรียกคนไทใหญ่ด้วยคำนี้มาก่อน สมพงศ์ วิทยศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตว่ามีเพียงชนชาติฮั่นในยุคหนึ่งเรียกไทใหญ่ว่า “ต้าป๋ายยี” และเรียกคนไทอีกกลุ่มหนึ่งว่า “เสี่ยวป๋ายยี” ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ไทใหญ่” ที่มาคู่กับ “ไทน้อย” (แปลตรงตัวอาจได้ความว่า “พวกเสื้อขาวใหญ่” และพวกเสื้อขาวน้อย” คำว่า “ป๋ายยี, ป่ายยี หมายถึง “เสื้อขาว” คือพวกใส่เสื้อผ้าขาว ซึ่งเป็นคำที่ชนชาติฮั่นใช้เรียกคนไท (สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์, 2542: 11)

เงี้ยว เป็นคำที่คนเมืองหรือคนยวนในล้านนาใช้เรียกคนไทใหญ่ (ปิลันธน์ ไทยสรวง, 2559) ชื่อเรียกดังกล่าวชาวไตหรือไทใหญ่ไม่ชอบใจที่ถูกเรียก เนื่องจากเป็นคำที่มีนัยยะของการดูถูก แม้ว่าชื่อเรียกที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจะใช้คำว่า “ไทใหญ่” แต่ทว่ายังปรากฎคำเรียก“เงี้ยว” ในแถบพื้นที่ภาคเหนือซึ่งเป็นชื่อที่ชาวไทยวนใช้เรียกพวกเขาด้วยชื่อนี้มาแต่แรกเริ่ม

ไทเหนือ-ไทมาว เป็นคำที่คนท้องถิ่นอื่น ๆ ในจีนเรียกคนไทใหญ่ เกิดจากใน พ.ศ. 2528 มีสำรวจพบว่ามีประชากรชาวไทเหนือในเขตต่าง ๆ จำนวนประมาณ 360,000 คน ส่วนใหญ่ใช้อักษรและภาษาไทเหนือ จึงถูกคนไทถิ่นอื่นในจีนเรียกว่า “ไทเหนือ” แต่ชาวไทเหนือนิยมเรียกตนเองว่า ไทหลวง หรือ ไทใหญ่ และเนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำมาว หรือมาวโหลง (มาว หลวง) จึงถูกเรียกว่า ไทมาว อีกด้วย (ล้านนาคดี, 2551)

ภาษา

ตระกูลภาษา : ไท

ตระกูลภาษาย่อย : ไต-ไต

ไต หรือไทใหญ่ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูล “ไท” ภาษาที่คนไทใหญ่ใช้อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับ ไทเหนือ ไทอาหม ไทขาว ไทลื้อ ไทสยาม ลาว (เรณู วิชาศิลป์, 2541, 264) ภาษาไทใหญ่แยกตัวจากออกจากกลุ่มภาษาไทอื่น ๆ มานานมากและเริ่มเห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัดในราวศตวรรษที่ 12-13 จากการที่สามารถตั้งรัฐโบราณบนลุ่มแม่น้ำมาว จนขยายอิทธิพลออกไปทั้งทางเหนือและทางใต้ ทางใต้ขยายไปครอบคลุมเมืองยองห้วยในลุ่มน้ำคง ทางเหนือขยายเข้าไปในแคว้นอัสสัมจนก่อให้เกิดกลุ่มชนที่พูดภาษาคล้ายคลึงกันครอบคลุมพื้นที่ทั้งในพม่า อินเดีย จีน ตลดจนภาคเหนือของไทย หรือครอบคลุมลุ่มน้ำ 3 แห่งคือ น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) น้ำอิรวดี และน้ำพรมบุตร (อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2538: 8)

ภาษาพูด : ไต

ไต หรือไทใหญ่เรียกภาษาพูดของตนว่า กว๋ามไต คำว่า กว๋าว คือคำเดียวกับคำว่า “กำ” ภาษาล้านนา และคำว่า “คำ” หรือ “ความ” ในภาษาไทย แม้กลุ่มคนไทใหญ่ที่กระจายออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ จะพูดภาษาเดียวกัน แต่พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมที่ยาวนานของแต่ละกลุ่ม แต่ละพื้นที่ การสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ทำให้เกิดสำเนียงการพูดที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ในรัฐฉานลักษณะการพูดภาษาไทใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามภูมิภาคคือ ฉานเหนือ ฉานใต้ และฉานตะวันออก ซึ่งทั้งสามกลุ่มนั้นมีระบบเสียงที่แตกต่างกันอยู่บ้าง

ในฉานเหนือ ซึ่งคนเรียกว่าไทเมา นั้นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเหมือนกับชาวไทเหนือในยูนนาน คำศัพท์บางคำจึงมีการหยิบยืมทั้งจากพม่าและจีน ในฉานใต้ เป็นที่ตั้งของเมืองตองจี หรือโตนตี/ต้นตี ในภาษาไทใหญ่ เป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน มีภาษาพูดใกล้เคียงกับฉานเหนือ และมีการหยิบยืมคำศัพท์จากภาษาพม่าเป็นจำนวนมาก ส่วนในฉานตะวันออก ซึ่งมีกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทอยู่มากเช่น ลื้อ ยอง เขิน และมีอาณาเขตติดต่อกับล้านน้าทางภาคเหนือของไทยมานานจึงทำให้มีภาษาพูดและภาษาเขียนที่คล้ายคลึงกันมาก (เรณู วิชาศิลป์ 2541 หน้า 264)

ไทใหญ่ในประเทศไทยส่วนมากมีภาษาพูดใกล้เคียงกับรัฐและภูมิภาคที่ตนเองอพยพมา เช่นในจังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ที่มีพื้นที่ติดกับฉานใต้ มักจะพูดภาษาไตหลวง ขณะที่ชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงราย มาจากฉานตะวันออกจึงมีลักษณะการพูดที่ใกล้เคียงกับคนล้านนา หรือบางครั้งพวกเขาก็นิยามตัวเองว่าเป็นคน “ไตอ้อ” คือกลุ่มคนไตที่มีลักษณะการพูดคำลงท้ายด้วยคำว่า “ข้าอ้อ” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทใหญ่บริเวณชายแดนแม่สายที่อพยพมาจากเมืองกำ เมืองนุง เมือกยาก และเมืองป๊อก ในเชียงตุง รัฐฉาน (วรรณา จันทนาคม, 2526, 3)

การพูดของคนไทใหญ่ในประเทศไทย แม้จะมีรากฐานมาจากในรัฐฉาน แต่เนื่องจากต้องติดต่อสัมพันธ์กับคนไทย คนเมือง (ล้านนา) ทำให้มีการประยุกต์ใช้ศัพท์ของไทยและล้านนาเข้าไปด้วย ที่สำคัญจะมีศัพท์พม่า จีน หรือ อังกฤษ น้อยกว่าคนไทใหญ่ในพม่า ในการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มคนหนุ่มสาวชาวคนไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานเกินกว่า 10 ปี ทุกคนยอมรับว่า เมื่ออยู่เมืองไทยนาน ๆ การพูดภาษาไทใหญ่ของพวกเขาเปลี่ยนไปมาก มีคำที่เป็นภาษาไทยปนเข้าไปเป็นจำนวนมาก

คนไทแต่ละกลุ่มแม้รากฐานภาษาอาจจะมาจากต้นตอเดียวกัน แต่จะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มก็มีการใช้อักษรที่แตกต่างกันไป คือ หากเป็นอักษรที่ใช้ในเขตจังหวัดใต้คง เป่าซาน หลินซาง และซือเหมา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน) จะเรียกว่า “ตั๋วถั่วงอก” หรือ “ลิ่กถั่วงอก” ด้วยรูปร่างของตัวอักษรที่เขียนด้วยก้านผักกูดหรือพู่กันจีนมีลักษณะยาว สูง ในขณะที่หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในพม่าจะเรียกว่า “ตัวมน” หรือ “ตัวไทป่อง” ด้วยมีรูปร่างกลมเช่นอักษรพม่า อักษรไทใหญ่จะมีรูปร่างต่างกันไปอีก กลายเป็นอักษรอาหม อักษรไทพ่าเก และอักษรไทคำตี่ เป็นต้น แต่ลักษณะพื้นฐานส่วนใหญ่จะเหมือนกันคือ มีจำนวนพยัญชนะและสระใกล้เคียงกัน และไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์มาแต่เดิม หากมีการเพิ่มเติมรูปพยัญชนะและวรรณยุกต์ภายหลัง พยัญชนะส่วนใหญ่มีเพียง 16-19 รูป และวรรณยุกต์ 4-5 รูป (สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์, 2542, 12)

ประวัติความเป็นมาของอักษรไทใหญ่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ประวัติศาสตร์พม่าส่วนใหญ่ยืนยันว่าชาวไทใหญ่รับเอาอักษรและพุทธศาสนาจากพม่า อย่างไรก็ตามงานเขียนของไทใหญ่เชื่อว่าอักษรไทใหญ่วิวัฒน์มาจากอักษรพราหมี-นาครี อักษรไทใหญ่ 10 ตัวคล้ายคลึงกับอักษรพม่า แต่มี 3 ตัวที่คล้ายคลึงกับอักษรนาครี โดยเฉพาะอักษรตัว “อ” ที่ไม่เหมือนอักษรใดเลยตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน แต่คล้ายกับ “อ” ในอักษรมอญในจารึกมอญที่เจดีย์เชวชานดอ ที่จารึกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีการณ์คาดว่าอักษรไทใหญ่ในพม่าอาจจะมีวิวัฒนาการมาจากแหล่งต่อไปนี้คือ 1) มาจากธิเบตโดยผ่านอาณาจักรน่านเจ้า เพราะไม่มีอักษรพยัญชนะตัวที่สี่ของแต่ละวรรค (ฆ ญ ฒ ธ) เช่นเดียวกับอักษรธิเบตที่เป็นลักษณะที่สำคัญมาก 2) จากอินเดียตอนใต้ผ่านเมืองแปร ตามประวัติศาสตร์พม่า ไทใหญ่เคยยิ่งใหญ่มีอำนาจครอบครองถึงเมืองแปรก่อนคริสตกาล 3) จากตะแลง (มอญ) แห่งพะโคโดยผ่านเขตลาว ชาวลาวได้มาติดต่อกับชาวตะแลงก่อนที่จะมาพบกับชาวพม่า และบางทีอาจจะนำอักษรที่ยืมมานี้ไปเผยแพร่สู่ชาวไทใหญ่ 4) จากอินเดียใต้ผ่านอาณาจักรจามปา กัมพูชา และเชียงแสน จามปารับเอาอักษรและอารยธรรมจากอินเดียใต้ กัมพูชารับสืบต่อมา และเชียงแสนได้รับสืบทอดมาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของน่านเจ้า (ซาย คำเมือง, 2544,3)

สภาพพื้นที่อยู่อาศัย : กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ราบ

การตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวประชากร :

ปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นฐานที่อยู่กระจัดกระจายในหลายประเทศ ทั้งในเขตรัฐฉานในภาคเหนือของพม่า ในมณฑลยูนนานของสาธารรัฐประชาชนจีน ในรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ในภาคเหนือของประเทศลาว เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการทำแบบสำรวจที่ครอบคลุมชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนประชากรชาวไทใหญ่ในประเทศไทย มีเพียงการศึกษาชาวไทใหญ่เป็นกรณีตามแต่ละพื้นที่ ในภาพรวมที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นในประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และมีชาวไทใหญ่ที่เป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติอยู่ตามเมืองเศรษฐกิจสำคัญของไทยในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและพื้นที่เขตอึตสาหกรรมอื่นๆ

ในประเทศไทย จังหวัดที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รองลงมาคือเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดอื่นตามลำดับเช่น นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก นครนายก เป็นต้น (วีระพงศ์ มีสถาน, 2544,13) เนื่องจากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายจัดการที่ชัดเจนกับกลุ่มชนนี้ ทำให้กลุ่มชาวไทใหญ่รู้สึกถึงความไม่มั่นคงทั้งในเรื่องความปลอดภัยและที่พักพิง ส่งผลให้ชาวไทใหญ่จำนวนมากย้ายถิ่นทะลักเข้าสู่เมืองใหญ่ต่างๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครที่เปรียบเสมือนแหล่งรวมชาติพันธุ์หลากหลายซึ่งหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากิน (ปิลันธน์ ไทยสรวง, 2559) ปัจจุบันคนไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีความแตกต่างทั้งช่วงระยะเวลาของการอพยพ เหตุผลที่อพยพ อายุ การศึกษา สถานภาพทางทะเบียนราษฤร์ และบริบทพื้นที่ที่ชาวไทใหญ่ตั้งถิ่นฐานที่เอื้อต่อปรับตัวและการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นไทใหญ่แตกต่างกัน

ไต หรือไทใหญ่เคลื่อนย้ายเข้ามาในบริเวณภาคเหนือ (ล้านนา) ตั้งแต่อดีต เนื่องจากชาวไทใหญ่มีบทบาทในด้านการค้าขายทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และอื่นๆ ซึ่งจากการศึกษาของ ปานแพร เชาวน์ประยูร (2550) ได้อธิบายถึงการตั้งชุมชมของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่จากอดีตและปัจจุบัน ดังนี้

ในอดีตชุมชนชาวไทใหญ่ เกิดจากการอพยพเข้ามาในเชียงใหม่ตั้งแต่ยุคสมัยพระเจ้ากาวิลพปกครองนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2325 ที่มีการดำเนินการรวบรวมกำลังคนจากเมืองต่างๆ เรียกว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” โดยเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณด้านเหนือของเมืองเชียงใหม่ คือ บริเวณประตูช้างเผือก มีสถานที่สำคัญของชาวไทใหญ่ คือ วัดกู่เต้า ซึ่งเป็นวัดนิกายเงี้ยวตามความศรัทธาของชาวไทใหญ่ นอกจากในเมืองเชียงใหม่แล้ว ชาวไทใหญ่ยังกระจายไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณรอบนนอกด้วย เช่น ชุมชนบ้านโปง (ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย) ชุมชนบ้านกาด (ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง) ชุมชนบ้านลาน (ตำบลม่อนขิน อำเภอฝาง) บ้านเวียงหวาย (อำเภอฝาง) ตำบลเวียงแหง และตำบลเปียงหลวงนอกจากนั้นชาวไทใหญ่ยังกระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบัน ชุมชนชาวไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา บางกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีการสร้างเครือข่ายข้ามพรมแดนระหว่างชาวไทใหญ่ด้วยกันเอง ดังนั้นผู้ที่อพยพเข้ามาจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับเครือข่ายของตนเองที่อาศัยอยู่ก่อนแล้วในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ในเมืองเชียงใหม่ ที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมาก ได้แก่ ชุมชนวันกู่เต้าและวัดป่าเป้า เนื่องจากเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีชาวไทใหญ่ที่ไม่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ญาติพี่น้อง ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มที่เข้ามาเป็นแรงงาน โดยเฉพาะการก่อสร้าง หรือการทำงานในโรงงาน มักอาศัยอยู่บริเวณสถานที่ก่อสร้าง และมีการย้ายที่อยู่อาศัยไปตามลักษณะงาน การตั้งถิ่นฐานจึงไม่เป็นหลักแหล่งดังเช่นกลุ่มที่เข้ามาก่อน สำหรับพื้นที่รอบนอกเมืองเชียงใหม่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่หลายพื้นที่ เช่น อำเภอเวียงแหง อำเภอแม่อาย และอำเภออื่นๆ ลักษณะของชาวไทใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (ปณิธิ อมาตยกุล, 2547)

การอยู่อาศัยในประเทศไทยของชาวไทใหญ่ประกอบทั้งกลุ่มคนที่อาศัยอยู่อย่างถูกกฎหมาย และกลุ่มคนที่ข้ามพรมแดนเข้ามาเป็นแรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ชาวไทใหญ่ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทยก่อนปี พ.ศ. 2521 ได้รับสิทธิการโอนสัญชาติเป็นสัญชาติไทย ส่วนใหญ่มีครอบครัว โดยบุตรหลานได้สัญชาติไทยเช่นกัน ชาวไทใหญ่กลุ่มนี้โดยพื้นฐานแล้ว เป็นกลุ่มที่มีความรู้ มีการศึกษา ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรืออุดมศึกษา มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เมื่ออพยพเข้ามาจึงสามารถประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความรู้ได้ เช่น พนักงานเสนอขายสินค้าของที่ระลึก มัคคุเทศก์ และองค์อิสระที่เกี่ยวข้องกับไทใหญ่ (NGOs) เป็นต้น มีรายได้ประมาณ 5000-10,000 บาทต่อเดือน ชาวไทใหญ่กลุ่มนี้จะไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มใหญ่ แต่จะอาศัยอยู่กระจัดกระจายในจังหวัดเชียงใหม่ ในอำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภออื่นๆ

2.ชาวไทใหญ่ที่ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาหลังปี พ.ศ. 2521 เพื่อเข้ามาทำงาน มีทั้งกลุ่มคนที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย นอกจากนั้นบางส่วนอพยพเข้ามาพร้อมครอบครัว บางส่วนมาแต่งงานสร้างครอบครัวกับคนไทย ส่วนเด็กที่อพยพเข้ามามักจะบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาต่อในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ กลุ่มที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นแม่บ้านทำความสะอาด ลูกจ้างในร้านค้า โรงงานทอผ้า โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า รายได้ประมาณ 700-2,000 บาทต่อเดือน และยังมีบางส่วนที่ประกอบอาชีพค้าขาย รายได้ไม่แน่นอน ประมาณ 200-500 บาทต่อวัน นอกจากนั้นกลุ่มที่เข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่ทำงานด้านก่อสร้าง บางส่วนเป็นลูกจ้างในสวนผลไม้ มักได้รับค่าตอบแทนเป็นรายวัน ประมาณ 35-120 บาทต่อวัน

กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้างต่างๆ มักจะอาศัยอยู่กับนายจ้าง หรือสถานที่ที่นายจ้างจัดไว้ให้ จะไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ แต่จะกระจัดกระจายกันไปตามลักษณะของการประกอบอาชีพ ส่วนชาวไทใหญ่ที่ประกอบอาชีพก่อสร้าง มักจะพักอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่บริเวณใกล้เคียงที่ทำงาน ลักษณะที่อยู่อาศัยจะสร้างเป็นกระท่อมเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย



แหล่งข้อมูล

ผู้เรียบเรียงข้อมูล :

สมคิด แสงจันทร์ นักวิจัยอิสระ

เอกสารอ้างอิง :

เกียรติก้อง ศิลปะสนธยานนท์. (2555). ลิเกไทใหญ่ ในบริบทของกระบวนการสร้างจิตสำนึกทางชาติพันธุ์ กรณีศึกษาคณะจ๊าดไตยอดแซงแลงใหม่ หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แก่นจันทร์ มะลิซอ. (2546). การออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทใหญ่ บ้านใหม่หมอกจ๋าม อำเภอ
แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขำคม พรประสิทธิ์. (2555). กลองก้นยาว: ระเบียบวิธีการบรรเลงและการประสมวง. กรุงเทพฯ: กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขำคม พรประสิทธิ์. (2559). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559

โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฑารัตน์ สุภาษี. (2544). การผลิตและการบริโภคถั่วเน่าของกลุ่มไทใหญ่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล และสิงหนาท แสงสีหนาท. (2549). โครงการภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนไทใหญ่ ในชุดโครงการภูมิปัญญา พัฒนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรือนพื้นถิ่นไทย-ไท คุณลักษณะของสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

โชคนิธินันต์ คุณยศยิ่ง. (2557). องค์ความรู้ของการจัดการปอยส่างลองวัดป่าเป้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม). คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดนิตา มาตา และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง เครือข่ายข้ามพรมแดน: ตัวตน และพลวัตทางวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

นงนุช จันทราภัย และเรณู วิชาศิลป์. (2541). สังคมและวัฒนธรรมไทบ้านใหม่หมอกจ๋าม. ใน ฉลาดชาย รมิตานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ) ไท: Tai (หน้า 287-332). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

ปณิธิ อมาตยกุล. (2547). การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2550). บทบาทของพระพุทธศาสนาต่อกระบวนการผลิตซ้ำทางอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม. (2553). โครงการการออกแบบเบื้องต้นและการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองแม่ฮ่องสอน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิทยา ฟูสาย และคณะ. (2553). โครงการ “กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ คะยาห์ และกระเหรี่ยง” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เรณู วิชาศิลป์. (2541). สังเขปภูมิหลังของชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน. ใน ฉลาดชาย รมิตานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ) ไท: Tai (หน้า 255-259). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

เรณู อรรฐาเมศร์. (2541). ภูมิปัญญาชาวไทใหญ่กับความเชื่อและพิธีกรรม. ใน ฉลาดชาย รมิตานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ) ไท: Tai (หน้า 434-448). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

วันดี สันติวุฒิเมธี. (2545). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษาหมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง การสร้างความหมายทางสังคมวัฒนธรรมของเด็กและเยาวชนไร้สัญชาติในจ๊าดไต (ลิเกไทใหญ่) ภายใต้บริบทการเข้าถึงทรัพยากร : กรณีศึกษาจ๊าดไต บ้านแม่ละนา อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม. (2556). องค์ความรู้ด้านการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ไทลื้อ ไทยอง และไทใหญ่ภายใต้วัฒนธรรมล้านนา. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สมคิด แสงจันทร์ . (2559). Facebook : พื้นที่สาธารณะออนไลน์ของแรงงานไทใหญ่ในประเทศไทยใน วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 28 ฉบับที่ 2/2559 (กรกฏาคม-ธันวาคม) หน้า133- 173 เชียงใหม่. วนิดาการพิมพ์.

สมคิด แสงจันทร์ . (2560). แรงปรารนาและวัฒนธรรมวัยรุ่นของกลุ่มคนหนุ่มไต ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์). คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมโชติ อ๋องสกุล. (2546). โครงการวิจัยการสร้างประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่: การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุทัศน์ กันทะมา. (2542). การคงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไมใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.

อรวรรณ วิไชย. (2557). วาทกรรมของไทใหญ่ว่าด้วยเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : กรณีศึกษาลัทธิพิธีและความเชื่อของชุมชนไทใหญ่ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัมพร จิรัฐกร. (2558). พื้นที่สาธารณะข้ามชาติ การเมืองเรื่องพื้นที่ของแรงงานอพยพไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่:ศูนย์บริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ระบบออนไลน์

สุภฎารัตน์. (2556). ถั่วเน่าซา ไทยใหญ่ ไทยเฮา https://www.smileconsumer.com

taiyai.net. (2551) เมนูอาหารรสเด็ดชาวไทใหญ่. http://www.taiyai.net/TAI%20food.html

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. https://www.m-culture.go.th/maehongson/
main.php?filename=index

MGR Online. (2551). ฟื้นชีวิต “จ๊าดไต” ต่อลมหายใจศิลปินไทใหญ่ https://mgronline.com/
qol/detail/9510000048103 (2561) งานฤดูหนาวและงานรื่นเริง ประจำปี 2561 จ แม่ฮ่องสอน 9 ก พ 61 https://www.youtube.com/watch?v=-yqeh6G4Jf4

สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. (2560). https://www.facebook.com/
taiyaimcc/posts/1274133429344322/

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). กิงกะหร่า–โต การฟ้อนที่แสดงตัวตนของชาวไทใหญ่.http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?n...

บุษกร บิณฑสันต์ และคณะ. (2558). รายงานวิจัย เรื่อง วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2563). กวามไต (เพลงไต) เพลงพื้นบ้านของชาวไต. http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance
/340-----m-s

สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. (2554).วรรณกรรม. http://www.taiyai.org/
2011/index.php?page=4c2378500328311c7354592d47cc700d&r=3&id=72

เชียงใหม่นิวส์. (2562). ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จัดลานกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การก้าลายไต ( ศิลปะการป้องกันตัวชาวไทใหญ่ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1000787/

Thai PBS. (2562). ศิลปะก้าลายไต. https://www.thaipbspodcast.com/podcast/tracks/
8341/ศิลปะก้าลายไต

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติการทำงานของคนต่างด้าว ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563. https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/cfd5266a
7529106b9fdd751603d77d31.pdf

วรันธรณ์ แก้วทันคำ. (2558). แกงอุ๊บไก่บ้าน. http://www.food4change.in.th/2013-04-22-11-06-40-100119/2013-04-22-11-07-30/2014-03-11-10-57-24/806-แกงอุ๊บไก่บ้าน.html

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=679&code_db=610008&code_type=TK007

https://www.museumthailand.com/th/1032/storytelling/ข้าวแรมฟืน

Voice online. (2560ก). ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง. https://www.voicetv.co.th/read/503689

Voice online. (2560ข). ไทยทัศนา : (33) ชมวิหารพม่า วัดศรีชุม ลำปาง. https://www.voicetv.co.th/read/505447

MGR Online. (2551). จากไทใหญ่ ถึงล้านนาไทเมือง ย้อนวิถีสู่อดีต จิตวิญญาณที่ปราศจากรสเมรัย. https://mgronline.com/live/detail/9510000078520

Taiyai.net. (2551). เจ้าเสือข่านฟ้า(พ.ศ. 1854-1907 หรือ ค.ศ. 1331-1364 ).http://www.taiyai.net/Surkhan.html

เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน. http://www.mmhs.go.th/index.php/89-trad/462-10

[SS1]


[SS1]เห็นควรให้มีการปรับแก้ไขรูปแบบการอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบ APA

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง :

งานวิจัยทางชาติพันธุ์ : ไทใหญ่