ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 60 ผลลัพธ์

ชาวกะซอง ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนยังใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับป่า มีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ทว่าสถานการณ์ทางภาษาอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นสุดท้าย แนวโน้มในอนาคตความวิกฤติของภาษาจะรุนแรงมากขึ้นและอาจสูญหายได้หากไม่มีการสืบทอดอย่างยั่งยืน


ชาวกะยัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว เรียกตนเองว่า แลเคอ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ได้รับผลกระทบจากการสู้รบอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บชายแดนและบางส่วนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกระจายไปอยู่อาศัยในหลายจังหวัดที่มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์


ชาวกะเลิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ภูหรือโนนสูง แต่เดิมมีวิถีการผลิตแบบทำข้าวไร่ สันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณภาคกลางของลาวใกล้ชายแดนเวียดนาม และด้วยภาษาของชาวกะเลิงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบรู โซ่และแสก จึงคาดการณ์ว่าชาวกะเลิงอาจมีต้นกำเนิดร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บรู


กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงแบร หรือบเว เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ไทยหลังยุคล่าอาณานิคม ทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในประเทศผนวกกับความยากแค้นในการดำรงชีพ รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการนำเข้ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอื่นตามมา


กำมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ


"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน


ก่อ(อึมปี้) เป็นคำที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดแพร่และน่านใช้เรียกตัวเอง เพื่อที่จะให้เข้าใจความแตกต่างของคำทั้งสาม คงต้องสืบย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ถูกกวาดต้อนจากสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของประเทศจึน ในยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน


"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน


ยอง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่