ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 16 ผลลัพธ์

ชาวกะเลิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ภูหรือโนนสูง แต่เดิมมีวิถีการผลิตแบบทำข้าวไร่ สันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณภาคกลางของลาวใกล้ชายแดนเวียดนาม และด้วยภาษาของชาวกะเลิงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบรู โซ่และแสก จึงคาดการณ์ว่าชาวกะเลิงอาจมีต้นกำเนิดร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บรู


กำมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ


"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน


"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน


ยอง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่


ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา


ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม


คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่


ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มละบริ" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม