ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 13 ผลลัพธ์

ชาวกะซอง ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนยังใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับป่า มีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ทว่าสถานการณ์ทางภาษาอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นสุดท้าย แนวโน้มในอนาคตความวิกฤติของภาษาจะรุนแรงมากขึ้นและอาจสูญหายได้หากไม่มีการสืบทอดอย่างยั่งยืน


ยอง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่


ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา


ชาวชะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้


ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก


ก่อนการขีดเส้นแบ่งพรมแดนรัฐชาติระหว่างไทยกับเมียนมา ชาวมอแกนใช้ชีวิตในเรือก่าบางเดินทางในทะเลอย่างอิสระ เส้นแบ่งพรมแดนจำให้ถูกจำกัดการเดินทาง ลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยถาวรตามหมู่เกาะ วิถีชีวิตถูกปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งยังพบปัญหาไร้สัญชาติ ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน


มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว


มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมและทรัพยากร


ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มละบริ" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม