ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 14 ผลลัพธ์

กำมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ


ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม


ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) รวมกับชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง และเนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน


ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์


มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมและทรัพยากร


ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มละบริ" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม


ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์


ไทลื้อ กลุ่มชนภาษาตระกูลไท อาศัยใช้ชีวิตตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานในเขตลุ่มน้ำโขงตอนบนหลายศตวรรษ นับถือทั้งความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาเถรวาท จากหลักฐานตำนานประวัติศาสตร์ นับจากช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เริ่มปรากฏการก่อตั้งรัฐชองชาวลื้อขึ้น ซึ่งตำนานของชาวไทถือพญาเจิงเป็นปฐมกษัตริย์


ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น