ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 23 ผลลัพธ์

ชาวกะเลิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ภูหรือโนนสูง แต่เดิมมีวิถีการผลิตแบบทำข้าวไร่ สันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณภาคกลางของลาวใกล้ชายแดนเวียดนาม และด้วยภาษาของชาวกะเลิงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบรู โซ่และแสก จึงคาดการณ์ว่าชาวกะเลิงอาจมีต้นกำเนิดร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บรู


"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน


"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน


ยอง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่


กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อนั้นเหมือนภาษาลาวอีสานแต่มีความแตกต่างของสำเนียงเล็กน้อย อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นอกจากนี้ยังพบว่าอาศัยอยู่ที่ภาคตะวันออกด้วย


คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่


ก่อนการขีดเส้นแบ่งพรมแดนรัฐชาติระหว่างไทยกับเมียนมา ชาวมอแกนใช้ชีวิตในเรือก่าบางเดินทางในทะเลอย่างอิสระ เส้นแบ่งพรมแดนจำให้ถูกจำกัดการเดินทาง ลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยถาวรตามหมู่เกาะ วิถีชีวิตถูกปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งยังพบปัญหาไร้สัญชาติ ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน


มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว


ระยะเวลากว่า 200 ปี ที่ดำรงเผ่าพันธุ์ลาวครั่งมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมบางประการกลืนกลาย รับเอาวัฒนธรรมไทยภาคกลางเข้าไปใช้ เป็นผลสืบเนื่องจากการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางสังคม ประเพณี การศึกษาแบบไทย ยังผลให้ความเป็นอยู่อันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของชีวิตหลายอย่างได้เสื่อมสูญ เช่น การละเล่นพื้นบ้าน