ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 13 ผลลัพธ์

ชาวกะยัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว เรียกตนเองว่า แลเคอ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ได้รับผลกระทบจากการสู้รบอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บชายแดนและบางส่วนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกระจายไปอยู่อาศัยในหลายจังหวัดที่มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์


ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา


ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก


"ดาราอาง" กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราวสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริเวณชายแดน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน จึงดำรงชีพด้วยการรับจ้างในภาคเกษตรเป็นหลัก


กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย


ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง


ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) รวมกับชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง และเนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน


ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์


มัล ปรัย ชื่อเรียกตนเองของกลุ่มลัวะในจังหวัดน่าน โดยคำว่า “มัล” ใช้เรียกตัวเองในกลุ่มที่พูดภาษามัล เช่นเดียวกับคำว่า "ปรัย" ใช้เรียกตัวเองในกลุ่มที่พูดภาษาปรัย เมื่อปฏิสัมพันธ์กับคนนอก มักเรียกตัวเองในชื่อที่คนนอกรู้จักคือ ลัวะ