ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์


แสดง 1 ถึง 9 จาก 11 ผลลัพธ์

ชาวชะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้


คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่


มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว


มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมและทรัพยากร


ลัวะ ในประเทศไทยนั้น หากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ภาษาและวัฒนธรรมแล้วจะพบว่ามีสามกลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ลัวะในเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ที่เรียกตัวเองว่าลเวือะ ลวะ สืบผีฝ่ายพ่อ สอง ลัวะ ในเมืองน่าน ที่เรียกตัวเองว่า มัล และปรัย สืบผีฝ่ายแม่ และสาม กลุ่มละว้า ในเชียงรายและตอนเหนือของเชียงใหม่ที่สัมพันธุ์กับกลุ่มว้าในเมียนมา


ชาว "อูรักลาโวยจ" ตั้งชุมชนอยู่บริเวณริมฝั่งทะเล ในอดีตชาวเลอูรักลาโวยจที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสตูล มีการแต่งงานข้ามกลุ่มกัน หรืออพยพย้ายถิ่นไปมาหาสู่กัน ทุกกลุ่มจึงนับว่าเป็นญาติกันหมดและจะพบปะกันในโอกาสที่มีพิธีลอยเรือ ...


แม้คนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่า อ่อเญอ หรือ อ่อเญอก๊อคือ แต่เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกโดยใช้ภาษาอื่น ใช้คำว่า "อาเคอะ" เรียกกลุ่มของตนอย่างเป็นทางการ เป็นที่รู้จักของเด็กรุ่นหลังในชุมชนและคนภายนอก โดยข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลจากงานภาคสนามในหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย


อ่าข่าในประเทศไทย อาศัยกระจายตัวอยู่ใน 7 จังหวัดทางภาคเหนือ ประกอบด้วยกลุ่ม อู่โล้, ลอมี้, อู่เบียะ, อ๊ะจ๊อ, หน่าคะ, อู่พี และอะเคอ ชาวอ่าข่ากลุ่มแรกเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณดอยตุงและบ้านดอยแสนใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย


ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน