ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 20 จาก 32 ผลลัพธ์

ชาวกะยัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว เรียกตนเองว่า แลเคอ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ได้รับผลกระทบจากการสู้รบอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บชายแดนและบางส่วนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกระจายไปอยู่อาศัยในหลายจังหวัดที่มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 2023

กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงแบร หรือบเว เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ไทยหลังยุคล่าอาณานิคม ทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในประเทศผนวกกับความยากแค้นในการดำรงชีพ รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการนำเข้ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอื่นตามมา

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 พ.ย. 2023

กำมุ กลุ่มชนที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนเหนือของลาวและจัดอยู่ในกลุ่มลาวเทิง เข้ามาตั้งรกรากในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ปัจจุบันคนขมุมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแรงงานในภาคการเกษตรและมีการสร้างพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรมผ่านการสร้างกลุ่มเครือข่ายที่สัมพันธ์ไปด้วยดีกับชนพื้นราบ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 มิ.ย. 2023

ก่อ(อึมปี้) เป็นคำที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดแพร่และน่านใช้เรียกตัวเอง เพื่อที่จะให้เข้าใจความแตกต่างของคำทั้งสาม คงต้องสืบย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ถูกกวาดต้อนจากสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของประเทศจึน ในยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย. 2023

ยอง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยองหรือเวียงยอง ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า มหิยังคนคร ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยอง เรียกว่า เมืองเจงจ้าง ปัจจุบันยังคงเรียกตนเองว่า คนยอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพวกเขาที่ผูกติดกับพื้นที่

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

คะฉิ่น มีถิ่นฐานเดิมในดินแดนแถบทิเบต อพยพลงมาทางใต้ กระจายตัวในอินเดีย เมียนมาและจีน ชาวคะฉิ่นในประเทศไทยนั้นเคลื่อนย้ายหนีภัยสงครามมาจากเมียนมา เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีวัฒนธรรมสำคัญที่สืบต่อกันมายาวนานคือ พิธีรำมะหน่าว ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวาระสำคัญ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

“จีนฮ่อ” หรือชาวยูนนานมุสลิม ชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมและมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจต่อเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่ในเขตชุมชนบ้านฮ่อ และชุมชนตักวา ย่านสันป่าข่อย ปัจจุบันทั้งสองชุมชน ถือว่าเป็นชุมชนมุสลิมจีนฮ่อขนาดใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่มีจำนวนประชากรประมาณพันกว่าคน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 2023

"ดาราอาง" กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราวสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริเวณชายแดน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน จึงดำรงชีพด้วยการรับจ้างในภาคเกษตรเป็นหลัก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณ จ.เชียงราย เรียกตนเองว่า บีซู ในอดีตคนบีซูถูกทางราชการไทยเรียกรวมว่า ละว้า หรือลัวะ เพราะคนบีซูไม่ค่อยเปิดเผยตัวและอยู่รวมกลุ่มกันเล็กๆ ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากชุมชนอื่น ปัจจุบันคนบีซูจึงต้องการให้คนภายนอกเรียกตนเองว่า บีซู เสียมากกว่า

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. 2023

ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย. 2023

ชาวปะโออาศัยอยู่บริเวณรัฐฉานและที่ราบริมฝั่งแม่น้ำคง (สาละวิน) รวมกับชาวไทใหญ่ รวมไปถึงบางส่วนของรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยง และเนื่องด้วยชาวปะโอตั้งถิ่นฐานเป็นเพื่อนบ้านกับชาวไทใหญ่จึงมีการติดต่อไปมาหาสู่จนมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

มัล ปรัย ชื่อเรียกตนเองของกลุ่มลัวะในจังหวัดน่าน โดยคำว่า “มัล” ใช้เรียกตัวเองในกลุ่มที่พูดภาษามัล เช่นเดียวกับคำว่า "ปรัย" ใช้เรียกตัวเองในกลุ่มที่พูดภาษาปรัย เมื่อปฏิสัมพันธ์กับคนนอก มักเรียกตัวเองในชื่อที่คนนอกรู้จักคือ ลัวะ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 พ.ค. 2023

ตามตำนานของม้ง ดินแดนประเทศจีนในปัจจุบันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่อพยพจากมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ชาวม้ง เดินทางเข้ามาสามเส้นทาง คือ เส้นทางชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา เส้นทางภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น และเส้นทางข้ามแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาวและพม่าเข้าสู่บริเวณท่าขี้เหล็ก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ในอดีตคนไทยรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ "มละบริ" ในชื่ออื่นที่แสดงถึงอคติทางวัฒนธรรม เช่น ผีป่า ผีตองเหลือง คำว่า "มลาบรี" แท้จริงแล้วมีความหมายว่า "คนป่า" อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่และน่าน ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกทำลายลงอย่างมากจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ชาวว้า หรือ ละว้า มี "พื้นที่ชาวว้า" เป็นของตัวเอง ทางตอนเหนือของเมืองเชียงตุง ซึ่งอยู่บริเวชายแดนจีน-เมียนมา ช่วงอาณานิคม พื้นที่ของชาวว้าถือเป็นรัฐอิระ แต่หลังจากอาณานิคม พื้นที่ของชาวว้าระส่ำระสายด้วยหลายกลุ่มอำนาจที่ต้องการเข้ามามีอำนาจเหนือพื้นที่นี้ นั่นคือเหตุผลหลักทำให้กิดความไม่สงบ และต้องเคลื่อนย้ายออกมา ในประเทศไทย มีชาวว้าอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ที่โยกย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตั้งชุมชนกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง การเริ่มสร้างชุมชนใหม่บนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคย ปรับตัวรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ทั้งยังสามารถธำรงประเพณีวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวลาหู่นั้นมีถิ่นฐานดั้งดิมอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างธิเบตและจีน เมื่อถูกชนกลุ่มอื่นรุกรานจึงอพยพลงใต้ กระทั่งบางกลุ่มเข้ามาอาศัยในประเทศลาว เมียนมา และไทย ในประเทศไทยนั้นลาหู่กะจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการทำไร่ "ข้าวปุก" จึงเป็นอัตลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงวิถีการผลิต พิธีกรรม ความเชื่อ และโครงสร้างทางสังคม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

นักวิชาการสันนิษฐานว่าถิ่นเดิมของลีซูนั้น น่าจะมีจุดเริ่มต้นที่เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออกของธิเบต และกระจายออกไปทางทิศตะวันออกของชายแดนยูนนาน-เสฉวน อพยพไปจนถึงเมืองติงโฉ่ว ทางตอนเหนือของคุนหมิง และไกลออกไปจนถึงเมืองมิตจีนาของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า และอพยพลงมาสู่ทางใต้เข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023