ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 20 จาก 21 ผลลัพธ์

"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค. 2023

กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. 2023

ชาวปลังเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศพม่าและจีน ภายหลังได้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบจังหวัดเชียงราย พบปัญหาหลักเกี่ยวกับภาวะการไร้สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามชาวปลังบางส่วนก็ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาทำงานในสวนกล้วยไม้แถบจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ตามตำนานของม้ง ดินแดนประเทศจีนในปัจจุบันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่อพยพจากมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ชาวม้ง เดินทางเข้ามาสามเส้นทาง คือ เส้นทางชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา เส้นทางภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น และเส้นทางข้ามแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาวและพม่าเข้าสู่บริเวณท่าขี้เหล็ก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ระยะเวลากว่า 200 ปี ที่ดำรงเผ่าพันธุ์ลาวครั่งมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมบางประการกลืนกลาย รับเอาวัฒนธรรมไทยภาคกลางเข้าไปใช้ เป็นผลสืบเนื่องจากการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางสังคม ประเพณี การศึกษาแบบไทย ยังผลให้ความเป็นอยู่อันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของชีวิตหลายอย่างได้เสื่อมสูญ เช่น การละเล่นพื้นบ้าน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ที่โยกย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตั้งชุมชนกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง การเริ่มสร้างชุมชนใหม่บนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคย ปรับตัวรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ทั้งยังสามารถธำรงประเพณีวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ลาวแง้ว เป็นคำที่กลุ่มชาติพันธุ์ใช้เรียกตนเอง ซึ่งย้อนกลับไปช่วงของชาวแง้วยุคแรกๆมีคำบอกเล่าว่า ลาวแง้วนั้นเป็นชื่อที่ชาวเวียงจันทร์ใช้เรียกกลุ่มลาวแง้วของพวกเขา ชาวลาวแง้วนั้นจะมีความต่างกับชาวเวียงจันทร์ตรงที่การออกเสียงพูดภาษาลาวซึ่งจะมีความแตกต่างในเรื่องของสำเนียงที่มีความแปลก จึงเป็นที่มาของชื่อนี้

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้วเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดต่างๆในภาคกลาง ซึ่งพบมากที่สุดในจังหวัดลพบุรี และจังหวัดอื่นๆอย่างจังหวัดสิงห์บุรีที่อาศัยกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม นอกจากนี้ยังพบชาวลาวแง้วบางส่วนในจังหวัดนครสวรรค์อีกด้วย ชาวลาวแง้วในปัจจุบันนั้นกระจายตัวอาศัยอยู่รวมกับคนไทยภาคกลางและมักมีชื่อเรียกต่างๆมากมาย แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้ว ซึ่งถ้าไม่สังเกตนั้นจะไม่ทราบเลยว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตหรือการดำรงชีวิต หาเลี้ยงครอบครัว ประกอบอาชีพต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันมากเท่าไรนัก ผู้ที่จะรู้ได้นั้นก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งจะรับรู้เองได้ตามความเคยชิน สัญชาตญาณตามธรรมชาติ ในปัจจุบันนั้นการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้วนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากความหลากหลายที่เกิดจากการผสมผสานของลาวแง้วกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ทำให้ในบางกรณีเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ลาวแง้วตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมทีแล้วชาวลาวแง้วไม่ได้มีการบันทึกตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจนซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะอาศัยอยู่บริเวณหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงพระบางมากกว่าอาศัยในเมืองหลวงพระบาง เมื่อครั้งถูกกวาดต้อนก็ถูกต้อนให้รวมกับกลุ่มลาวเวียง และกลุ่มอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวลาวกลุ่มนี้ใช้คำว่าลาวแง้วเพื่อเรียกตนเองภายในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น โดยในเหตุการณ์การกวาดต้อนนั้นต้องย้อนกลับไปในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 ในภาพรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้วนั้นสามารถสรุปได้ว่า ลาวแง้วนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมามิใช่กลุ่มลาวเวียงหรือกลุ่มลาวที่อยู่ใกล้เคียงกับเวียงจันทร์

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้วนั้นมีการดำรงชีพทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวและมีการพัฒนาแปลงนาอยู่ตลอด ผสมผสานกับการทำระบบชลประทาน เพื่อความสะดวกในการทำการเกษตรของผู้คน ซึ่งการดำรงชีวิตวิถีปฏิบัติของพวกเขานั้นมีความเรียบง่าย สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับทางกลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 10 ก.ค. 2023

ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวลาหู่นั้นมีถิ่นฐานดั้งดิมอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างธิเบตและจีน เมื่อถูกชนกลุ่มอื่นรุกรานจึงอพยพลงใต้ กระทั่งบางกลุ่มเข้ามาอาศัยในประเทศลาว เมียนมา และไทย ในประเทศไทยนั้นลาหู่กะจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการทำไร่ "ข้าวปุก" จึงเป็นอัตลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงวิถีการผลิต พิธีกรรม ความเชื่อ และโครงสร้างทางสังคม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

นักวิชาการสันนิษฐานว่าถิ่นเดิมของลีซูนั้น น่าจะมีจุดเริ่มต้นที่เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออกของธิเบต และกระจายออกไปทางทิศตะวันออกของชายแดนยูนนาน-เสฉวน อพยพไปจนถึงเมืองติงโฉ่ว ทางตอนเหนือของคุนหมิง และไกลออกไปจนถึงเมืองมิตจีนาของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า และอพยพลงมาสู่ทางใต้เข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.ค. 2023

ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 18 ก.ค. 2023

โพล่ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในสี่ของกลุ่มที่เรียกรวมว่ากะเหรี่ยง มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ชาว "โอก๋อง" เรียกตนเองว่า "ละว้า" ตามที่บุคคลภายนอกและทางราชการเรียกขานมาเป็นเวลายาวนานกว่า 200 ปี ต่อมาเมื่อมีการจัดทำสารานุกรมก๊อง (อุก๊อง) ทำให้ชื่อเรียกดังกล่าวเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าชาวโอก๋องอาจเคยอาศัยอยู่บริเวณเขตแดนไทย-พม่า และอาจอพยพเข้ามาพร้อมกับสงครามที่เกิดขึ้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวไทพวน หรือลาวพวน สันนิษฐานว่ามีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เมื่อครั้งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีแม่น้ำ เช่น ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

คนไทโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 10 ก.ค. 2023

ชื่อเรียกไทเบิ้ง มาจากภาษาพูดที่มักลงท้ายด้วยคำว่า "เบิ้ง" หมายถึงบ้าง โดยรวมแล้วชื่อ "ไทเบิ้ง" จึงหมายถึง มีความเป็นไทยอยู่บ้าง ไทยเบิ้ง มีถิ่นฐานอยู่ในเขตรอยต่อของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้คนที่อาศัยในแถบนี้มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ผสมผสาน เพราะปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองภูมิภาค

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 พ.ค. 2023