ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 20 จาก 23 ผลลัพธ์

ชาวกะเลิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ภูหรือโนนสูง แต่เดิมมีวิถีการผลิตแบบทำข้าวไร่ สันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณภาคกลางของลาวใกล้ชายแดนเวียดนาม และด้วยภาษาของชาวกะเลิงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบรู โซ่และแสก จึงคาดการณ์ว่าชาวกะเลิงอาจมีต้นกำเนิดร่วมกันโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์บรู

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 มิ.ย. 2023

"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค. 2023

"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อนั้นเหมือนภาษาลาวอีสานแต่มีความแตกต่างของสำเนียงเล็กน้อย อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นอกจากนี้ยังพบว่าอาศัยอยู่ที่ภาคตะวันออกด้วย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวบรู เรียกตนเองว่า "บรู" หมายถึง "คนที่อาศัยอยู่ตามภูเขา" เคลื่อนย้ายไปมาบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตดั้งเดิมหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ ภายหลังการอพยพเข้ามาอยู่ภายใต้รัฐไทยต้องเผชิญกับอำนาจรัฐและเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงจนเกิดการปรับตัวและการผสมผสานทางวัฒนธรรม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวผู้ไทอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอุดรธานีบางส่วน โดยกลุ่มต่างๆ มีลักษณะร่วมกันในด้านประวัติความเป็นมา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม วิถีความเป็นอยู่ และศิลปวัฒนธรรม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ตามตำนานของม้ง ดินแดนประเทศจีนในปัจจุบันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่อพยพจากมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ชาวม้ง เดินทางเข้ามาสามเส้นทาง คือ เส้นทางชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา เส้นทางภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น และเส้นทางข้ามแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาวและพม่าเข้าสู่บริเวณท่าขี้เหล็ก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ระยะเวลากว่า 200 ปี ที่ดำรงเผ่าพันธุ์ลาวครั่งมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมบางประการกลืนกลาย รับเอาวัฒนธรรมไทยภาคกลางเข้าไปใช้ เป็นผลสืบเนื่องจากการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางสังคม ประเพณี การศึกษาแบบไทย ยังผลให้ความเป็นอยู่อันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของชีวิตหลายอย่างได้เสื่อมสูญ เช่น การละเล่นพื้นบ้าน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์เยอเกือบทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยก่อให้เกิดการผสมผสานทางด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเข้ากับกลุ่มพื้นถิ่นอื่นๆ อาทิ ลาว เขมร ส่วย ในจังหวัดศรีสะเกษชาวเยอมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวกูยที่เรียกกันว่า ส่วย ที่มีจำนวนมากกว่า

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.ค. 2023

ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 18 ก.ค. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์แสกจัดอยู่ในตระกูลพูดภาษาไท-กะได อาศัยอยู่กระจัดกระจายหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดนครพนม ไทแสกมีภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน โดยจะใช้ภาษาแสกในการพูดจาสื่อสารกันภายใน แต่จะใช้ภาษาลาวอีสานหรือภาษาไทยกลางกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นแทน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวโซ่ทะวืง ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาสืบทอดประเพณีปฏิบัติตามอย่างชาวพุทธแต่ก็ยังคงมีร่องรอยของความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผีย่าปู่ (ผีปู่ตา) ที่เป็นประเพณีสำคัญของชุมชน ปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย ถูกกลืนไปกับประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่อยู่รายรอบ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์โส้ เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น แม้จะดำรงวิถีชีวิตท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นๆ แต่ก็ยังคงธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภาษาไว้ได้อย่างชัดเจน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวไทพวน หรือลาวพวน สันนิษฐานว่ามีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เมื่อครั้งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีแม่น้ำ เช่น ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ไทยวน มีบรรพบุรุษจากเมืองเชียงแสนหรืออาณาจักรโยนก ภายหลังการล่มสลายจึงย้ายมาสร้างเมืองที่เชียงใหม่และเรียกว่า อาณาจักรล้านนา การรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างเครือญาติและผสมกลมกลืนกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดการนิยามตัวตนใหม่ เรียกว่า "คนเมือง" เพื่อสร้างความแตกต่างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกลุ่มอื่น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

คนไทโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 10 ก.ค. 2023