ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 14 จาก 14 ผลลัพธ์

ชาวชะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ตามตำนานของม้ง ดินแดนประเทศจีนในปัจจุบันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่อพยพจากมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ชาวม้ง เดินทางเข้ามาสามเส้นทาง คือ เส้นทางชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา เส้นทางภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น และเส้นทางข้ามแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาวและพม่าเข้าสู่บริเวณท่าขี้เหล็ก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ที่โยกย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตั้งชุมชนกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง การเริ่มสร้างชุมชนใหม่บนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคย ปรับตัวรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ทั้งยังสามารถธำรงประเพณีวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวลาหู่นั้นมีถิ่นฐานดั้งดิมอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างธิเบตและจีน เมื่อถูกชนกลุ่มอื่นรุกรานจึงอพยพลงใต้ กระทั่งบางกลุ่มเข้ามาอาศัยในประเทศลาว เมียนมา และไทย ในประเทศไทยนั้นลาหู่กะจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการทำไร่ "ข้าวปุก" จึงเป็นอัตลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงวิถีการผลิต พิธีกรรม ความเชื่อ และโครงสร้างทางสังคม

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

นักวิชาการสันนิษฐานว่าถิ่นเดิมของลีซูนั้น น่าจะมีจุดเริ่มต้นที่เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออกของธิเบต และกระจายออกไปทางทิศตะวันออกของชายแดนยูนนาน-เสฉวน อพยพไปจนถึงเมืองติงโฉ่ว ทางตอนเหนือของคุนหมิง และไกลออกไปจนถึงเมืองมิตจีนาของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า และอพยพลงมาสู่ทางใต้เข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

อ่าข่าในประเทศไทย อาศัยกระจายตัวอยู่ใน 7 จังหวัดทางภาคเหนือ ประกอบด้วยกลุ่ม อู่โล้, ลอมี้, อู่เบียะ, อ๊ะจ๊อ, หน่าคะ, อู่พี และอะเคอ ชาวอ่าข่ากลุ่มแรกเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณดอยตุงและบ้านดอยแสนใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 18 ก.ค. 2023

โพล่ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในสี่ของกลุ่มที่เรียกรวมว่ากะเหรี่ยง มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าปกาเกอะญออาศัยอยู่เฉพาะทางภาคเหนือและกะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่เฉพาะทางภาคตะวันตกเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพบกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่แยกหมู่บ้านไม่ปะปนกัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

กลุ่มชาติพันธุ์ "ไต" อาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนเหนือเวียดนาม ตลอดแนวตอนใต้ของจีน ลาว ไทย ทางตอนเหนือของพม่าไปจนถึงแคว้นอัสสัมของอินเดีย ด้วยการกระจายตัวไปในพื้นที่ที่แตกต่าง พวกเขาจึงมีชื่อเรียกมากมายตามประเทศและกลุ่มคนที่อาศัยร่วม โดยคำว่า "ไทใหญ่" พบว่าเป็นคำที่คนไทยเท่านั้นใช้เรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวไทพวน หรือลาวพวน สันนิษฐานว่ามีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เมื่อครั้งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีแม่น้ำ เช่น ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023