ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 11 จาก 11 ผลลัพธ์

ชาวกะซอง ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนยังใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับป่า มีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ทว่าสถานการณ์ทางภาษาอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นสุดท้าย แนวโน้มในอนาคตความวิกฤติของภาษาจะรุนแรงมากขึ้นและอาจสูญหายได้หากไม่มีการสืบทอดอย่างยั่งยืน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย. 2023

"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค. 2023

"เขมรถิ่นไทย" หรือชาวไทยที่มีวัฒนธรรม/เชื้อสายเขมร เรียกตนเองว่า "ขแมร์" ขณะเดียวกันชาวกัมพูชา มักเรียกคนสุรินทร์ว่า "ขะแมร์โสเร็น" ซึ่ง ขะแมร์ เขมร หรือแผ่นดินแม่ และสะเร็นหรือ โสเร็น หมายถึง สุรินทร์ ส่วนมากพูดภาษาเขมร การเรียกดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรไมตรีของชาวเขมรด้วยกัน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 2023

ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เอ่ยถึงกลุ่มคนเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาวซำเรในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราด กระจายตัวอยู่ในหลายอำเภอ มีความหนาแน่นในพื้นที่ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งมีลักษณะนิเวศน์แบบพื้นที่เขตภูเขา เหมาะแก่การทำเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าชาวซำเรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ที่โยกย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตั้งชุมชนกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง การเริ่มสร้างชุมชนใหม่บนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคย ปรับตัวรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย สร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ทั้งยังสามารถธำรงประเพณีวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.ค. 2023

ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 18 ก.ค. 2023

ชาวไทพวน หรือลาวพวน สันนิษฐานว่ามีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ มีวิถีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เมื่อครั้งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีแม่น้ำ เช่น ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

คนไทโคราช ไม่ใช่ชื่อเรียกชนชาติและเชื้อชาติ ไม่ใช่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตายตัว แต่เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ผ่านการกรองและต่อรองกับอำนาจของรัฐศูนย์กลางของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทย จนตกผลึกเป็น "ไทโคราช" อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายไปทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางมากกว่าวัฒนธรรมลาวในอีสาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 10 ก.ค. 2023