ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เจ้าของวัฒนธรรมใช้เรียกตนเอง หรือชื่อที่ต้องการให้คนอื่นเรียก โดยนำเสนอข้อมูลในมิติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร สาธารณะและให้บุคคลทั่วไปเข้าใจเรื่องความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

แสดง 1 ถึง 10 จาก 10 ผลลัพธ์

คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ถิ่นฐานกำเนิดเดิมของชาวมอญคาดว่าน่าจะเป็นบริเวณทางตอนตะวันตกของจีนหรือทางตอนใต้ของอินเดีย เมื่ออพยพมายังอุษาอาคเนย์ได้ก่อตั้งอาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรสะเทิม ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่อารยธรรมมอญที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสู่ชนชาติต่างๆ เป็นหนึ่งในแม่แบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในอุษาอาคเนย์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ก่อนการขีดเส้นแบ่งพรมแดนรัฐชาติระหว่างไทยกับเมียนมา ชาวมอแกนใช้ชีวิตในเรือก่าบางเดินทางในทะเลอย่างอิสระ เส้นแบ่งพรมแดนจำให้ถูกจำกัดการเดินทาง ลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยถาวรตามหมู่เกาะ วิถีชีวิตถูกปรับเปลี่ยนตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งยังพบปัญหาไร้สัญชาติ ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023

มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมและทรัพยากร

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ไทดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ร่วมกับบรรดาชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงขยายออกไป ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำค่อนข้างเข้มแข็ง ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2023

ชาว "อูรักลาโวยจ" ตั้งชุมชนอยู่บริเวณริมฝั่งทะเล ในอดีตชาวเลอูรักลาโวยจที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสตูล มีการแต่งงานข้ามกลุ่มกัน หรืออพยพย้ายถิ่นไปมาหาสู่กัน ทุกกลุ่มจึงนับว่าเป็นญาติกันหมดและจะพบปะกันในโอกาสที่มีพิธีลอยเรือ ...

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2023

ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.ค. 2023

ชาวจีนที่อพยพมานั้น มักมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่ หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนทั้งห้ากลุ่มภาษา เห็นได้จากศาลเจ้า สมาคมตระกูลแซ่ สมาคมกลุ่มภาษา และโรงเรียนจีน เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 18 ก.ค. 2023