ไร่หมุนเวียนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของปกาเกอะญอ ที่ใช้กินและใช้ประโยชน์ได้อย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี

วัตถุดิบและเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ จากไร่หมุนเวียน บ้านแม่ลายเหนือ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

"ส่องสว่างลงมาเถิดดาวบนฟ้า ส่องให้เห็นยอดดอกไม้อ่อนที่งอกใหม่พร้อมดอกไม้ป่าบานสะพรั่งไปทั่วในไร่นั้น"

แนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ ดูทั้งหมด


กลุ่มชาติพันธุ์อัพเดทล่าสุด



ลัวะ ในประเทศไทยนั้น หากจำแนกตามลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ภาษาและวัฒนธรรมแล้วจะพบว่ามีสามกลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ลัวะในเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ที่เรียกตัวเองว่าลเวือะ ลวะ สืบผีฝ่ายพ่อ สอง ลัวะ ในเมืองน่าน ที่เรียกตัวเองว่า มัล และปรัย สืบผีฝ่ายแม่ และสาม กลุ่มละว้า ในเชียงรายและตอนเหนือของเชียงใหม่ที่สัมพันธุ์กับกลุ่มว้าในเมียนมา

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 23 พ.ย. 2023

กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงแบร หรือบเว เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ไทยหลังยุคล่าอาณานิคม ทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในประเทศผนวกกับความยากแค้นในการดำรงชีพ รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการนำเข้ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มย่อยอื่นตามมา

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 พ.ย. 2023

"กูย" หรือ "กวย" เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย แม้ยังไม่มีหลักฐานถึงสาเหตุการอพยพโยกย้ายที่แน่ชัด แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอนใต้และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค. 2023

กะเหรี่ยง เป็นคำที่มักหมายรวมถึงกลุ่มที่เรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ โพล่ง กะยาห์ กะยัน บเวและปะโอ ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีการตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงปกาเกอะญอบริเวณรอยต่อตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่ภาคตะวันตกจนถึงภาคเหนือประเทศไทย ก่อนการแบ่งแนวเขตแดนระหว่างประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐเมียนมากับประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. 2023

ชาวเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเวียด ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนก่อนจะอพยพมายังอินโดจีน การอพยพของชาวเวียดนามมายังประเทศไทยเกิดจากเหตุผลหลายประการ และได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเรียกหลากหลาย เช่น คนญวณ ญวณ ญวณอพยพ แกว เหวียต เกี่ยว เป็นต้น

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.ค. 2023